วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ภัยพิบัติ 2012


โลกร้อนกับภัยพิบัติ 2010


ภัย พิบัติทางธรรมชาติแยกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.ภัยจากน้ำและดินฟ้าอากาศ เช่น พายุ น้ำท่วม ภัยแล้ง 2.ภัยจากธรณีวิทยา เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด คลื่นสึนามิ 3.ภัยจากเชื้อโรค เช่น โรคระบาดร้ายแรงต่างๆ
หาก จะสรุปว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นถี่ยิบ และเกรี้ยวกราดกว่าเก่าก่อน มาจากเพราะโลกร้อนละก็ จำต้องมีหลักฐานมาพิสูจน์ ทั้งนี้จากการค้นคว้าพบว่า ย้อนหลังไปตั้งแต่ปี 2443–2548 หรือ 100 ปีที่ผ่านมา ระยะ 50 ปีแรก มีเหตุน้อยเหลือเกิน แต่กราฟเริ่มเพิ่มสูงขึ้นใน 50 ปีหลัง

หากย่อให้ง่ายลงมา ระหว่างปี 25182548 หรือช่วง 30 ปีหลังที่ผ่านมานี้ อัตราภัยพิบัติทางธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นในระดับขั้นบันได โดยเฉพาะพิบัติทางน้ำ 30.7% ถัดมา วาตภัย (พายุ) 26.6% ที่เหลือคือโรคระบาด 11.2% และแผ่นดินไหว 8.6% ขณะเดียวกันภัยแล้งก็เพิ่มขึ้น ดังเช่นที่ออสเตรเลียและแคลิฟอร์เนียเจอมา ส่วนโรคร้ายแปลกใหม่เกิดขึ้น ก็ระบาดอย่างรวดเร็ว

หากแยกตามทวีป ที่เกิดภัยพิบัติ พบว่า ทวีปแอฟริกาเจอปัญหาการแพร่กระจายของโรคร้ายแรงมากที่สุด ทวีปอเมริกาเจอปัญหาจากพายุเฮอริเคนและน้ำท่วมมากที่สุด เอเชียเจอน้ำท่วม พายุและแผ่นดินไหว มากที่สุด ยุโรปเจอน้ำท่วม ส่วนโอเชียเนีย คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแปซิฟิก เจอแผ่นดินไหวมากที่สุด แต่ในระดับที่ไม่รุนแรง

ในปีที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์ และภัยพิบัติครั้งสำคัญมากมาย
 หนาวรุนแรงทั่วยุโรป และจีน

ช่วง ฤดูหนาวส่งท้ายปี 2010 ยุโรปและสหรัฐประสบภัยหนาวอย่างรุนแรง ส่งผลให้มียอดผู้เสียชีวิตนับร้อยกว่าคนท่ามกลางหิมะตกหนักและอุณหภูมิต่ำ กว่าลบ 22 องศาเซลเซียส ส่วนพื้นที่ภาคใต้ของเยอรมนี อุณหภูมิลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ถึงลบ 33 องศาเซลเซียส

ส่วน ประเทศจีน สภาพอากาศหนาวเย็นจัดได้แผ่ปกคลุมภูมิภาคซินเจียง ทางตะวันตกไกลของจีน ทำให้เกิดหิมะตกหนัก อุณหภูมิลดต่ำลงถึงขั้นติดลบ 40 องศาเซลเซียส ความเร็วลมถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นเหตุการณ์ที่สะท้อนความแปรปรวนของสภาพอากาศของโลกเราได้เป็นอย่างดี

 น้ำแข็งละลาย และทะเลสาบหายจ๋อม

ภาวะ โลกร้อนไม่ได้เพียงแค่ทำให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างต่อเนื่องเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ชั้นน้ำแข็งถาวรที่มีอยู่ใต้พื้นผิวโลกค่อยๆ ละลายลดปริมาณลงไป

ตามข้อมูลที่ได้จากองค์การอาหารและเกษตรกรรม หรือ เอฟเอโอ ของสหประชาชาติ เปิดเผยล่าสุดเมื่อเดือนต.ค.ปีที่แล้วว่า ภัยพิบัติของมวลมนุษยชาติเริ่มปรากฏให้เห็นรางๆ แล้ว จากการลดขนาดลงอย่างมากมายเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เต็มของทะเลสาบชาด อดีตทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ในเขตแอฟริกาตอนกลาง ซึ่งโอบล้อมโดยประเทศแคเมอรูน ชาด ไนเจอร์ และไนจีเรีย เคยเป็นแหล่งน้ำจืดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่ปัจจุบัน จากปัญหาโลกร้อน ทำให้ขนาดของทะเลสาบลดลงมากถึง 90%

 ไฟป่าในแดนจิงโจ้ และแผ่นดินใบเมเปิล

ภาวะ โลกร้อนยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิด “ไฟป่า” ได้ง่ายขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก และชาติเมืองหนาวในซีกโลกตะวันตก ซึ่งตามปกติไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องไฟป่า ก็เริ่มรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงนี้กันแล้ว เหตุเพราะสภาพป่าแห้งกว่าเดิม จึงเป็นเชื้อไฟอย่างดี

ในแคนาดาไฟป่าเกลนโรซา ปะทุขึ้นเมื่อกลางเดือนก.ค.ปีก่อน ตามแนวทะเลสาบโอคานาแกน ทางตะวันตกของเมืองเคโลว์นา รัฐบริติชโคลัมเบีย และเผาผลาญเนื้อที่ 2,187 ไร่ ขณะที่ไฟป่าโรส แวลลีย์ ดาม ซึ่งเกิดขึ้นห่างไปทางเหนือเพียงไม่กี่กิโลเมตรเผาไหม้เนื้อที่ไปแล้ว 937 ไร่ สอดคล้องกับผลวิจัยของสำนักงานอุตุนิยมวิทยา และองค์การวิทยาศาสตร์ซีเอสไออาร์โอ ของรัฐบาลออสเตรเลีย ที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้แล้วว่าภาวะโลกร้อนจะทำให้เกิดไฟป่าในพื้นที่ทาง ตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลียมากขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี 2593

ภัยแล้งในทิเบต

ช่วง เดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว ทิเบตผจญภัยแล้งสาหัสสุดในรอบ 30 ปี ทำพื้นที่หลายพันเฮกตาร์แห้งเกรียม สังหารวัวควายไปถึง 13,601 ตัว เพราะอุณหภูมิสูงกว่าระดับปกติช่วง 0.42.3 องศาเซลเซียส แม้ดูเล็กน้อยแต่ก็มากพอที่จะทำให้เกิดภัยแล้ง และธารน้ำแข็งในทิเบตเริ่มละลาย คาดการณ์ว่าในปีนี้ทิเบตจะต้องผจญภัยแล้งต่อเนื่อง รวมทั้งพื้นที่ด้านล่างของทิเบตอาจจะต้องผจญกับน้ำท่วมจากปัญหาน้ำแข็งละลาย

 น้ำท่วมครั้งใหญ่ในสหรัฐ

ราว เดือนมี.ค. นอร์ทดาโคตาและมินนิโซตาเผชิญน้ำท่วมครั้งใหญ่ ประชาชนหลายพันคนในรัฐนอร์ทดาโคตาและมินนิโซตาของสหรัฐ ต้องอพยพออกจากบ้านเรือน ขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำเรดเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 112 ปี ล่าสุดคือเมื่อปี 2440 น้ำท่วมสูงถึง 12.2 เมตร ในเมืองฟาร์ แต่ในครั้งนี้น้ำท่วมสูงสุดทำลายสถิติถึงระดับ 12.8 เมตร เท่ากับตึก 3 ชั้น นับว่าสหรัฐได้เจอบทเรียนเล็กๆ น้อยๆ บ้างแล้ว

 ฤทธิ์เดชเจ้าพายุ

ใน ช่วงปี 2010 พายุไซโคลนนาร์กีส คือ ชื่อพายุที่คร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 1.8 แสนคน มีผู้ได้รับผลกระทบอีกนับล้านชีวิตในพม่า เหตุการณ์ในครั้งนั้นสอนบทเรียนให้เรารู้ว่า ธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่กว่าเรามากนัก แต่ภัยที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือความเขลาของคน

ในขณะที่ฟิลิปปินส์ดู เหมือนปีที่แล้วจะเป็นปีที่หนักหนาเอาการ เริ่มจากพายุโซร้อนกิสนาพัดถล่มเกาะลูซอน พื้นที่ภาคเหนือของประเทศทำให้เกิดน้ำท่วมเขตกรุงมะนิลาครั้งใหญ่ที่สุดใน รอบ 40 ปี ตามด้วยพายุโซนร้อนป้าหม่าพัดถล่มซ้ำในเวลาไล่เลี่ยกันคร่าชีวิตผู้คนแล้ว รวมเกือบ 1,000 คนในฟิลิปปินส์ ความเสียหายนี้ไม่นับรวมประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง จีน เวียดนาม ลาว กัมพูชา และไทยที่โดนหางเลขเสียหายไปไม่น้อย

 สึนามิที่ซามัว
ราว เดือนต.ค. หมู่เกาะเล็กๆ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างนิวซีแลนด์และรัฐฮาวายของสหรัฐราว 200 กิโลเมตร หรือที่รู้จักกันในชื่อหมู่เกาะอเมริกันซามัว และหมู่เกาะซามัว ถูกคลื่นสึนามิ ซึ่งมีความสูงประมาณ 7.5 เมตร สูงประมาณตึก 2 ชั้น เข้าถล่มหลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 8.0 ริกเตอร์ และ 8.3 ริกเตอร์ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากหมู่เกาะซามัว ไปประมาณ 200 กิโลเมตร จนมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายร้อยคน
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น